วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การทำงานของกล้องดิจิตอล


การทำงานของกล้องดิจิตอล

               กล้องดิจิตอลมีหลักการในการทำงานคล้ายๆ กับกล้องที่ใช้ฟิล์มทั่วๆ ไป  กล้องดิจิตอลมีเลนส์  มีตัวรับภาพ(ดิจิตอลฟิล์ม)  ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการบันทึกภาพ  ส่วนที่เพิ่มเข้ามาในกล้องดิจิตอลใหญ่ๆ สองส่วนคือส่วนของจอ LCDสำหรับดูภาพเมื่อบันทึกเสร็จ และส่วนของหน่วยบันทึกข้อมูล (memory card) สำหรับบันทึกข้อมูลภาพที่ต้องการเก็บ (หากไม่ลบทิ้ง)    การทำงานในส่วนของการบันทึกภาพนั้นใกล้เคียงกับกล้องใช้ฟิล์ม   ส่วนที่แตกต่างกันคือระบบการควบคุมคุณภาพของภาพ ซึ่งได้รวมเอาขึ้นตอนการแต่งภาพ การปรับโทนสีของภาพ การอัด-ขยายภาพมาให้ผู้ใช้เป็นผู้เลือกควบคุม (ในกรณีที่ต้องการ มิเช่นนั้นสามารถเลือกให้กล้องทำให้แบบอัตโนมัติได้   ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างกล้องดิจิตอลและกล้องใช้ฟิล์มคือ
-ฟิล์มทำหน้าที่เป็นตัวรับ บันทึกภาพ   เปลี่ยนยี่ห้อ รุ่น  ค่าความไวแสง ได้ตามต้องการเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท
-ภาพที่บันทึกได้ต้องผ่านกระบวนการทางเคมี (การล้างภาพที่แล็ป)ก่อนจึงจะสามารถดูภาพได้
-ขั้นตอนการล้าง อัด ขยายภาพจะเป็นหน้าที่ของแล็ปที่ส่งฟิล์มไป (คุณภาพขึ้นอยู่กับศูนย์บริการเป็นสำคัญ)
-ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยในการทำงาน

กล้องดิจิตอล

-ตัวรับภาพหรือ  Image Sensor ทำหน้าที่เป็นตัวรับภาพ เป็นส่วนหนึ่งของกล้องดิจิตอลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้   ที่มีใช้กันอยู่ในกล้องดิจิตอลทั่วไปจะแบ่งเป็น CCD และ CMOS  ที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็น CCD
-กล้องดิจิตอลใช้ Image Sensor เป็นตัวรับภาพ ในขณะที่ใช้ memory card เป็นตัวเก็บข้อมูลภาพ (บางรุ่นมีหน่วยบันทึกในตัวให้ด้วยประมาณ 8MB)  ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ควรมีความสัมพันธ์กัน
-สามารถเห็นภาพได้ทันทีผ่านทางจอ LCD เพราะกล้องจะประมวลผลข้อมูลภาพทันที ไม่ต้องผ่านกระบวนการทางเคมี
-ขั้นตอนการล้าง อัดอยู่ในหน่วยประมวลผลของกล้อง  การควบคุมสี  ขนาดและคุณภาพของภาพอยู่ที่ผู้ใช้งานที่ต้องสั่งงานกล้องตั้งแต่ก่อนบันทึก
-มีฟังชั่นการบันทึกแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการบันทึกภาพนิ่ง
-ใช้พลังงานเป็นหลักในการทำงานของกล้องตั้งแต่เริ่มเปิดกล้องไปจนถึงการเก็บข้อมูล


Exposure Control - ระบบบันทึกภาพของกล้อง

Exposure Control คือหัวใจสำคัญของกล้องดิจิตอลในการสร้างภาพที่สวยงามตามจินตนาการของผู้ถ่ายภาพ   กล้องแต่ละรุ่นจะมีขีดความสามารถในส่วนของระบบบันทึกภาพที่แตกต่างกัน  ระบบที่สามารถทำงานได้หลากหลายหรืออนุญาตให้ผู้ถ่ายภาพเปลี่ยนค่าการบันทึกต่างๆ ได้  ส่วนมากแล้วจะอยู่ในกล้องรุ่นที่มีราคาค่อนข้างสูง  เมื่อเทียบกันรุ่นที่ระบบบันทึกทั่วไปเป็นแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ    แต่ไม่ว่าจะเป็นกล้องในกลุ่มไหน  การทำความเข้าใจกับระบบควบคุมการบันทึกภาพต่างๆ ของกล้องอาจช่วยให้เราสามารถควบคุมกล้องได้ดียิ่งขึ้น 
        กล้องดิจิตอลมีระบบบันทึกภาพที่สามารถแยกออกได้เป็น ส่วน คือ ระบบบันทึกภาพนิ่ง และระบบบันทึกภาพเคลื่อนไหว (Movie Clip)  นอกจากนี้แล้วปัจจุบันมีกล้องหลายรุ่นที่มีระบบรองรับการบันทึกเฉพาะเสียงอย่างเดียว  ทำหน้าที่คล้ายกับเทปอัดเสียงซึ่งสามารถบันทึกได้เป็นระยะเวลานานกว่าที่จะบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง    อย่างไรก็ตามสำหรับกล้องดิจิตอลที่เน้นกลุ่มนักถ่ายภาพโดยตรง  ฟังก์ชั่นในส่วนของการบันทึกภาพนิ่งจะเป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตให้ความสำคัญสูงสุด  จะเห็นได้ว่าในกล้องระดับกึ่งมืออาชีพหรือมืออาชีพจะไม่มีฟังก์ชั่นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว (Movie Clip)


ระบบภาพดิจิตอล

กล้องดิจิตอลใช้ตัวรับภาพในการบันทึกภาพแทนฟิล์ม  ซึ่งบนตัวรับภาพจะประกอบด้วยตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลายแสนหลายล้านชิ้นเรียกว่า พิกเซล (pixel)  หนึ่งตารางสี่เหลี่ยมจะมีสีเพียงสีเดียวเท่านั้น   ตารางสี่เหลี่ยมที่ประกอบรวมเป็นภาพดิจิตอลภาพหนึ่งนั้นมีขนาดเล็กมากๆ เราจึงดูไม่ออกว่าภาพเหล่านั้นที่จริงแล้วคือการเรียงต่อกันของตารางสี  หากเราเปิดภาพดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นตารางสีสี่เหลี่ยมได้อย่างชัดเจน    การเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบของตารางสีเหล่านี้เป็นเสมือนแผนที่ของตารางสี  ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภาพประเภทนี้ซึ่งเรียกว่าเป็นภาพ บิทแม็พ (Bit Map)
      
คุณภาพของภาพดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นภาพที่นำไปอัด หรือแสดงบนจอมอนิเตอร์จะขึ้นอยู่กับข้อมูลของภาพที่มีอยู่  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือขึ้นอยู่กับจำนวนของพิกเซลที่มีอยู่บนตัวรับภาพ   จำนวนพิกเซลที่มากขึ้นหมายถึงรายละเอียดของข้อมูลภาพที่สูงขึ้น  ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพดีขึ้นไปด้วย (เมื่อนำไปอัด ขยาย)    เราวัดจำนวนของพิกเซลในภาพดิจิตอลโดยการนำเอาจำนวนของพิกเซลแนวตั้งคูณกับจำนวนของพิกเซลแนวนอน  ซึ่งค่าที่ได้ก็คือค่าความละเอียดของกล้องดิจิตอลที่เรารู้จักกันว่า  กล้องตัวนี้ ล้าน   กล้องตัวนี้ ล้าน หรือกล้องตัวนี้ ล้านเป็นต้น
    
ภาพขนาด 1600 x 1200 = 1,920,000 พิกเซล  หรือเป็นความละเอียดสูงสุดที่สุดที่กล้องดิจิตอล ล้านพิกเซลสามารถบันทึกได้    ความละเอียดของกล้องดิจิตอลที่ระบุไว้จะดูที่ความละเอียดสูงสุดที่กล้องสามารถบันทึกได้เท่านั้น   (นอกจากกล้องบางรุ่นที่ระบุความละเอียดโดยใช้หลักการของการประมวลผลและเพิ่มข้อมูลให้กับภาพ)

ระบบบันทึกภาพนิ่ง

ในกล้องดิจิตอลจะมีระบบการบันทึกภาพอัตโนมัติมาให้เป็นมาตรฐานเพื่อความสะดวกในการใช้งาน (เป็นภาพกล้องถ่ายรูป หรือตัว P)  กล้องรุ่นที่รองรับนักถ่ายภาพสมัครเล่นหรือกึ่งโปรจะมีระบบบันทึกภาพแบบอื่นให้เลือกใช้นอกจากระบบบันทึกแบบอัตโนมัติเพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์งานภาพตามความต้องการ   การมีระบบการบันทึกภาพที่หลากหลายมากขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้ใช้กล้องสามารถบันทึกภาพและสร้าง effect ต่างๆ ให้กับภาพถ่ายได้มากขึ้น  ระบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่คือ
P (Programmed Auto Exposure) -  ระบบโปรแกรมบันทึกภาพอัตโนมัติ
A (Aperture Priority Auto Exposure) -  ระบบโปรแกรมบันทึกภาพแบบเลือกค่ารูรับแสง  (กล้องแคนนอนจะใช้ AV)
S (Shutter Priority Auto Exposure) -  ระบบโปรแกรมบันทึกภาพแบบเลือกค่าความไวชัตเตอร์  (กล้องแคนนอนจะใช้ TV)
ระบบบันทึกภาพเคลื่อนไหว - Movie Clip, Video Clip

        จุดเด่นอีกประการหนึ่งของกล้องดิจิตอลนอกเหนือจากการมองเห็นภาพทันทีจากจอแอลซีดี  คือคุณสมบัติการบันทึกภาพเคลื่อนไหว (Movie Clip)   ภาพเคลื่อนไหวที่ได้จากกล้องดิจิตอลในปัจจุบันมีคุณภาพที่ดีมาก  แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ไม่สามารถนำไปเทียบกับกล้องถ่ายวีดีโอซึ่งรองรับงานด้านวีดีโอโดยตรง    แม้ว่ากล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีฟังชั่นการบันทึกภาพเคลื่อนไหวให้เลือกใช้ แต่ความแตกต่างในการใช้งานและผลที่ได้ค่อนข้างหลากหลาย  ส่วนเด่นๆ ที่สามารถแยกได้คือ 
ขนาดของภาพเคลื่อนไหวที่สามารถบันทึกได้  (Movie Size)
ความสามารถในการบันทึกภาพพร้อมเสียง (Movie with / without sound)
คุณภาพของภาพที่บันทึกได้ (อัตรา frame rate ต่อวินาที)
-  ระยะเวลาที่สามารถบันทึกได้ต่อหนึ่ง clip (Recording per clip)


         

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเภทกล้อง Digital


              ในปัจจุบัน กล้อง ดิจิตอล มีหลากหลายประเภท แต่ถ้า เราจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ จะมี2ประเภท คือ
              1.กล้องคอมแพก(Compact Digital camera)
                   คือ กล้องดิจิตอลที่มีตัวเลนส์อยู่ติดกับตัวกล้อง ไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ รูปทรงของกล้องคอมแพคมีจุดเด่นที่ขนาดเล็ก พกพาสะดวก สามารถใช้ง่ายได้ เป็นที่นิยมสำหรับทุกเพศทุกวัย การใช้งานเน้นความเป็นอัตโนมัติ กดเปิดปุ๊บ กดชัตเตอร์ได้รวดเร็ว โดยไม่ตรงปรับค่าต่างๆ


              2.กล้อง DSLR (Digital Single Len Reflect)
                   เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิตอล มีลักษณะเหมือนกล้องที่ใช้ฟิล์ม เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม มักนำตัวกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบ 35mm. SLR มาดัดแปลงให้เป็นกล้องดิจิตอล โดยเปลี่ยนฝาหลัง และแทนที่ฟิล์มด้วยเซ็นเซอร์รับภาพ ชนิดของเซ็นเซอร์รับภาพอยู่ 3 ชนิด คือ CCD (Charge Coupled Device) ให้แสงที่ดี และ อ่อนไหวต่อสี ถูกใช้อย่างแพร่หลายกว่าชนิดอื่นๆ แต่ข้อเสียของ เซ็นเซอร์รับภาพชนิดนี้คือการบริโภคพลังงานที่ค่อนข้างสูง และมีคอนโทรลเลอร์แปลงสัญญาณที่ซับซ้อน CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)มีความสามารถในการตกแต่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และ MOS (Metal Oxide Semiconductor) มีคุณสมบัติไกล้เคียง CMOS แต่ไม่มีคุณสมบัติของการประหยัดพลังงาน  นอกจากนี้คุณสมบัติ DSLR digital single-lens reflex ที่เหนือกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็ค คุณภาพของกล้องDSLR ความคมของภาพที่เห็นได้ชัด และ noise ที่น้อยกว่าเมื่อถ่ายในที่มืด สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ปรับซูมจากการหมุนเลนส์ สามารถถ่ายภาพในตอนกลางคืนได้ดี ควบคุมการถ่ายภาพด้วยมือได้ (Manual)
รุ่นแนะนำ ผู้ใช้จำเป็นต้องมีพื้นฐานเรื่องการถ่ายภาพ เพื่อสร้างสรรค์การถ่ายภาพในรูปแบบที่แตกต่างได้ เหมาะสำหรับมืออาชีพ นำภาพไปใช้ในการทำงานในสื่อที่ต้องการภาพที่มีความละเอียดสูง ซึ่งปัจจุบันราคาของกล้องประเภทนี้ถูกลงกว่ายุคก่อนมาก เป็นเหตุให้มือใหม่เข้าสู่วงการการถ่ายภาพมากขึ้น