วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

คณะผู้จัดทำ



ปรีชวิชญ์ เกียรติกระจาย 54027880



วัชระชัย เดือนแจ่ม 54007539


ขนิษฐา ไชยเขียว 54043960




เนื้อหาในบล๊อคนี้ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของวิชา CSC200 1-2555 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของเลนส์ (Lens)



เลนส์ (Lens) 
     
          โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งช่วงของเลนส์เป็น 3 ช่วงคือ มุมกว้าง(Wide angle) , มาตรฐาน(Normal) และ ถ่ายไกล(Telephoto) 
          โดยจะแบ่งจากทางยาวโฟกัสเทียบกับเส้นทะแยงมุมของ Image Sensor โดย ถ้าทางยาวโฟกัสมากกว่ามากกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto lens) 
ถ้าทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ระยะมาตรฐาน(Normal lens) 
แต่ถ้ายาวโฟกัสมากกว่าน้อยกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์มุมกว้าง(Wide angle lens) 

    ซึ่งจากขนาดฟิล์มที่ 24*36 มม. ก็จะได้เส้นทะแยงมุมเท่ากับ 43 มม. แต่จำยาก เขาเลยกำหนดซะ ที่ 50 มม. ให้ถือว่าเป็นเลนส์ช่วงมาตรฐาน จะได้จำกันง่ายๆ ซึ่งก็จะทำให้กำหนดได้คร่าวๆ ว่า
ตั้งแต่ราวๆ 40 มม. ลงไป จะถือเป็นช่วง มุมกว้าง (Wide) เช่น 35mm , 20mm , 8mm
ช่วง 40 - 60 มม. ก็จะถือเป็นช่วง มาตรฐาน(Normal) เช่น 40mm 50mm 60mm
และที่มากกว่า 60 มม. ก็จะเป็นช่วง ถ่ายไกล(TelePhoto) เช่น 85mm , 100mm , 300mm , 600mm



Normal Lens คือเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมาตรฐาน ทางยาวโฟกัสของเลนส์มาตรฐานนี้คือ 50 มม. เลนส์ยอดนิยมของประเภทนี้พวกLens 50mm. f1.8 เอาไว้สำหรับถ่ายภาพบุคคล แบบชัดตื้น (หน้าชัดหลังเบลอ ที่ถ่ายคนแล้วฉากหลังละลาย)


Wide Angle Lensคือเลนส์มุมกว้าง เป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่า 50 มม เช่น 10 mm., 28 mm. เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์


FisheyesLens เป็นเลนส์ชนิดพิเศษที่มีมุมมองกว้างรับภาพ 180 องศา ภาพที่ได้ออกมานั้นส่วนขอบภาพจะโค้งๆ ตรงกลางภาพก็ได้มุมมองแปลกตาและสวยงามไปอีกแบบ



Tele photo Lens คือเลนส์ถ่ายไกล หมายถึงการถ่ายวัตถุที่อยู่ไกลๆ ให้เหมือนกับเราเข้าไปถ่ายใกล้ๆ เช่นการถ่ายภาพสัตว์ระยะไกลต่างๆ หรือนกที่เกาะอยู่บนต้นไม้ เป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากกว่า 50 มม เช่น 85 mm., 100 mm.



Macro lenses คือเลนส์ที่มีความสามารถที่จะนำเลนส์เข้าไปถ่ายระยะใกล้ๆ วัตถุได้มากกว่าปกติ เช่น การถ่ายภาพแมลง


Zoomlens คือเลนส์ที่สามารถปรับเปลี่ยนความยาวโฟกัสหลายขนาด เพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้ในทุกสถานการณ์ เช่น Lens kit ที่เป็น 18-55mm. ก็ถือว่าเป็นเลนส์ซูมเช่นกันค่ะแต่เป็น Normal Zoom



วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มือใหม่ควรรู้ก่อนซื้อกล้อง DSLR


เมื่อพูดถึง กล้อง DSLR นั้นได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพที่ดีกว่า กล้อง Compact (กล้องถ่ายรูปทั่ว ๆ ไป) ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ กล้อง DSLR ประเภทนี้จะเป็นที่ใฝ่ฝันของใครหลาย ๆ คน ซึ่งในปัจจุบันนี้ราคาของกล้อง DSLR ลดลงจากเดิมค่อนข้างมากทำให้สามารถซื้อหาได้ง่ายกว่าเดิม แต่สำหรับมือใหม่หัดเล่นกล้องนั้น อาจจะเกิดความไม่แน่ใจอยู่บ้างว่า เอ๊ะ … ก่อนจะซื้อนั้นเราต้องพิจารณาอะไรบ้าง ดังนั้นเราเลยมีเทคนิคดี ๆ ในการเลือกซื้อกล้อง DSLR มาฝากกัน
ตั้งงบประมาณ ถือเป็นส่วนสำคัญไม่น้อย เพราะกล้อง DSLR นั้นมีราคาตั้งแต่หมื่นกว่า ๆ ไปจนถึงหลักแสน การตั้งงบประมาณเอาไว้นอกจากจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกได้ง่ายแล้ว ยังทำให้คุณไม่ลำบากในค่าใช้จ่ายด้วยค่ะ
เลือกกล้อง DSLR ที่เหมาะกับเรา ปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตกล้อง DSLR หลายยี่ห้อซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนเลือกซื้อคุณควรจะเลือกกล้อง DSLR ยี่ห้อที่เหมาะสมกับตัวเอง เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเรามากที่สุด ในกรณีที่มียี่ห้อที่ถูกใจมากกว่าหนึ่งยี่ห้อ ให้คุณทดลองถ่ายภาพ เพื่อทดสอบดูว่ากล้องจากยี่ห้อไหนที่ทำให้คุณประทับใจมากกว่ากัน

เลือกชุด Kit หรือ Body ให้เหมาะกับการใช้งาน ชุด Kitนั้นก็คืออุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับตัวกล้องไม่ว่าจะเป็น ตัวกล้องเลนส์ เมมโมรี่การ์ด ส่วน Body นั้นหมายถึงแค่ตัวกล้อง ไม่มีเลนส์มาให้ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายชุด Kit ก็ถือว่าโอเคแล้ว แต่สำหรับ Body นั้นคุณจำเป็นต้องมีเลนส์ที่ต้องการอยู่ในใจอยู่แล้ว และแน่นอนว่าเจ้าตัวเลนส์นี้ก็มีราคาแพงกว่าชุด Kit ดังนั้นคุณต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนพอสมควร ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะต้องเสียเงินมากมายไปกับการซื้อเลนส์ที่อาจจะไม่ตรงกับการใช้งานได้
เช็คสินค้าให้ละเอียดก่อนจ่ายเงิน ในจุดนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะแม้ว่าราคากล้อง DSLR จะลดลงแล้วแต่ก็ยังถือว่าเป็นจำนวนเงินไม่น้อยเหมือนกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจจ่ายเงินเราต้องเช็คสินค้าให้ดี ๆ ก่อนโดย
  • เช็คใบรับประกันว่าตัวเลขตรงกับเลขเครื่องของกล้องหรือไม่
  • เช็คสภาพตัวกล้องภายนอกทั้งหมดว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ มีรอยขีดข่วนหรือเปล่า ถ้าร้านไหนไม่ให้ดูกล้องก่อนซื้อ หรือถ้าดูกล้องแล้วต้องซื้อทันทีให้เปลี่ยนร้านได้เลย
  • เช็คระบบของกล้องว่า ทำงานถูกต้องหรือไม่ไม่ว่าจะเป็น Back/Front Focus, Hot Pixels/Dead Pixels ถ้าร้านไหนไม่เช็คให้ก็สมควรเปลี่ยนร้าน

ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกประกันศูนย์ เพราะเรตราคาของกล้องที่ประกันศูนย์กับประกันร้านนั้นแตกต่างกันไม่มาก เพราะฉะนั้นประกันศูนย์น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะหากกล้องมีปัญหา เราก็จะมั่นใจได้ว่าได้
ว่ารับการซ่อมแซมจากช่างที่ชำนาญมาตรฐานกล้อง DSLR ยี่ห้อนั้นจริง ๆ

ขอขอบคุณบทความจาก : 88DB LifeStyle

กล้อง DSLR มีกี่ประเภท ?


กล้อง DSLR แบบตัวคูณ

กล้อง DSLR แบบตัวคูณเป็นกล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35mm ซึ่งมีผลทำให้ภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพที่ปรากฏบนกล้องฟิล์ม 35mm  เป็นหลักการที่บอกว่า ภาพที่ได้จะถูกซูมให้ใกล้ขึ้นนั่นเอง ความหมายเพิ่มเติมคือที่เรียกว่ากล้องแบบตัวคูณ คือ เป็นการเอาค่าความยาวโฟกัสของเลนส์ คูณ ด้วยค่าตัวคูณ (Focus Length Multiplier) จึงจะได้ ค่าความยาวโฟกัส

ผลที่ขนาดของเซ็นเซอร์เล็ก ทำให้กล้องตัวคูณมีราคาไม่แพงมากนัก และทำให้พื้นที่ความชัดจะมองได้ยากขึ้น แต่มีจุดเด่นคือ
  • เพิ่มระยะซูมได้มากขึ้น
  • ถ่ายภาพ Macro จะได้ภาพที่คมชัดได้ง่าย

กล้อง DSLR แบบตัวฟูลเฟรม

กล้อง DSLR แบบฟูลเฟรม (Full Frame) เป็นกล้องที่เรียกได้ว่า เป็นกล้องสำหรับมืออาชีพโดยเฉพาะ มีขนาดของ CCD เท่ากันฟิล์ม ซึ่งทำให้สามารถใช้เลนส์แบบเก่าที่เคยใช้กับกล้องแบบฟิล์มได้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะใช้เลนส์แบบไหน ก็ไม่จำเป็นต้องมีตัวคูณให้ยุ่งยาก
ทิปเพิ่มเติม
เลนส์ที่ใช้กับกล้อง DSLR แบบตัวคูณ ไม่สามารถใช้งานร่วมกับกล้องแบบฟูลเฟรม (Full Frame) ได้ครับ เพราะภาพที่ได้จะไม่เต็มเซ็นเซอร์นั่นเอง ดังนั้นการเลือกซื้อเลนส์ ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่า กล้อง DSLR ของเราเป็นแบบไหน


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การทำงานของกล้องดิจิตอล


การทำงานของกล้องดิจิตอล

               กล้องดิจิตอลมีหลักการในการทำงานคล้ายๆ กับกล้องที่ใช้ฟิล์มทั่วๆ ไป  กล้องดิจิตอลมีเลนส์  มีตัวรับภาพ(ดิจิตอลฟิล์ม)  ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการบันทึกภาพ  ส่วนที่เพิ่มเข้ามาในกล้องดิจิตอลใหญ่ๆ สองส่วนคือส่วนของจอ LCDสำหรับดูภาพเมื่อบันทึกเสร็จ และส่วนของหน่วยบันทึกข้อมูล (memory card) สำหรับบันทึกข้อมูลภาพที่ต้องการเก็บ (หากไม่ลบทิ้ง)    การทำงานในส่วนของการบันทึกภาพนั้นใกล้เคียงกับกล้องใช้ฟิล์ม   ส่วนที่แตกต่างกันคือระบบการควบคุมคุณภาพของภาพ ซึ่งได้รวมเอาขึ้นตอนการแต่งภาพ การปรับโทนสีของภาพ การอัด-ขยายภาพมาให้ผู้ใช้เป็นผู้เลือกควบคุม (ในกรณีที่ต้องการ มิเช่นนั้นสามารถเลือกให้กล้องทำให้แบบอัตโนมัติได้   ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างกล้องดิจิตอลและกล้องใช้ฟิล์มคือ
-ฟิล์มทำหน้าที่เป็นตัวรับ บันทึกภาพ   เปลี่ยนยี่ห้อ รุ่น  ค่าความไวแสง ได้ตามต้องการเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท
-ภาพที่บันทึกได้ต้องผ่านกระบวนการทางเคมี (การล้างภาพที่แล็ป)ก่อนจึงจะสามารถดูภาพได้
-ขั้นตอนการล้าง อัด ขยายภาพจะเป็นหน้าที่ของแล็ปที่ส่งฟิล์มไป (คุณภาพขึ้นอยู่กับศูนย์บริการเป็นสำคัญ)
-ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยในการทำงาน

กล้องดิจิตอล

-ตัวรับภาพหรือ  Image Sensor ทำหน้าที่เป็นตัวรับภาพ เป็นส่วนหนึ่งของกล้องดิจิตอลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้   ที่มีใช้กันอยู่ในกล้องดิจิตอลทั่วไปจะแบ่งเป็น CCD และ CMOS  ที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็น CCD
-กล้องดิจิตอลใช้ Image Sensor เป็นตัวรับภาพ ในขณะที่ใช้ memory card เป็นตัวเก็บข้อมูลภาพ (บางรุ่นมีหน่วยบันทึกในตัวให้ด้วยประมาณ 8MB)  ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ควรมีความสัมพันธ์กัน
-สามารถเห็นภาพได้ทันทีผ่านทางจอ LCD เพราะกล้องจะประมวลผลข้อมูลภาพทันที ไม่ต้องผ่านกระบวนการทางเคมี
-ขั้นตอนการล้าง อัดอยู่ในหน่วยประมวลผลของกล้อง  การควบคุมสี  ขนาดและคุณภาพของภาพอยู่ที่ผู้ใช้งานที่ต้องสั่งงานกล้องตั้งแต่ก่อนบันทึก
-มีฟังชั่นการบันทึกแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการบันทึกภาพนิ่ง
-ใช้พลังงานเป็นหลักในการทำงานของกล้องตั้งแต่เริ่มเปิดกล้องไปจนถึงการเก็บข้อมูล


Exposure Control - ระบบบันทึกภาพของกล้อง

Exposure Control คือหัวใจสำคัญของกล้องดิจิตอลในการสร้างภาพที่สวยงามตามจินตนาการของผู้ถ่ายภาพ   กล้องแต่ละรุ่นจะมีขีดความสามารถในส่วนของระบบบันทึกภาพที่แตกต่างกัน  ระบบที่สามารถทำงานได้หลากหลายหรืออนุญาตให้ผู้ถ่ายภาพเปลี่ยนค่าการบันทึกต่างๆ ได้  ส่วนมากแล้วจะอยู่ในกล้องรุ่นที่มีราคาค่อนข้างสูง  เมื่อเทียบกันรุ่นที่ระบบบันทึกทั่วไปเป็นแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ    แต่ไม่ว่าจะเป็นกล้องในกลุ่มไหน  การทำความเข้าใจกับระบบควบคุมการบันทึกภาพต่างๆ ของกล้องอาจช่วยให้เราสามารถควบคุมกล้องได้ดียิ่งขึ้น 
        กล้องดิจิตอลมีระบบบันทึกภาพที่สามารถแยกออกได้เป็น ส่วน คือ ระบบบันทึกภาพนิ่ง และระบบบันทึกภาพเคลื่อนไหว (Movie Clip)  นอกจากนี้แล้วปัจจุบันมีกล้องหลายรุ่นที่มีระบบรองรับการบันทึกเฉพาะเสียงอย่างเดียว  ทำหน้าที่คล้ายกับเทปอัดเสียงซึ่งสามารถบันทึกได้เป็นระยะเวลานานกว่าที่จะบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง    อย่างไรก็ตามสำหรับกล้องดิจิตอลที่เน้นกลุ่มนักถ่ายภาพโดยตรง  ฟังก์ชั่นในส่วนของการบันทึกภาพนิ่งจะเป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตให้ความสำคัญสูงสุด  จะเห็นได้ว่าในกล้องระดับกึ่งมืออาชีพหรือมืออาชีพจะไม่มีฟังก์ชั่นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว (Movie Clip)


ระบบภาพดิจิตอล

กล้องดิจิตอลใช้ตัวรับภาพในการบันทึกภาพแทนฟิล์ม  ซึ่งบนตัวรับภาพจะประกอบด้วยตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลายแสนหลายล้านชิ้นเรียกว่า พิกเซล (pixel)  หนึ่งตารางสี่เหลี่ยมจะมีสีเพียงสีเดียวเท่านั้น   ตารางสี่เหลี่ยมที่ประกอบรวมเป็นภาพดิจิตอลภาพหนึ่งนั้นมีขนาดเล็กมากๆ เราจึงดูไม่ออกว่าภาพเหล่านั้นที่จริงแล้วคือการเรียงต่อกันของตารางสี  หากเราเปิดภาพดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นตารางสีสี่เหลี่ยมได้อย่างชัดเจน    การเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบของตารางสีเหล่านี้เป็นเสมือนแผนที่ของตารางสี  ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภาพประเภทนี้ซึ่งเรียกว่าเป็นภาพ บิทแม็พ (Bit Map)
      
คุณภาพของภาพดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นภาพที่นำไปอัด หรือแสดงบนจอมอนิเตอร์จะขึ้นอยู่กับข้อมูลของภาพที่มีอยู่  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือขึ้นอยู่กับจำนวนของพิกเซลที่มีอยู่บนตัวรับภาพ   จำนวนพิกเซลที่มากขึ้นหมายถึงรายละเอียดของข้อมูลภาพที่สูงขึ้น  ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพดีขึ้นไปด้วย (เมื่อนำไปอัด ขยาย)    เราวัดจำนวนของพิกเซลในภาพดิจิตอลโดยการนำเอาจำนวนของพิกเซลแนวตั้งคูณกับจำนวนของพิกเซลแนวนอน  ซึ่งค่าที่ได้ก็คือค่าความละเอียดของกล้องดิจิตอลที่เรารู้จักกันว่า  กล้องตัวนี้ ล้าน   กล้องตัวนี้ ล้าน หรือกล้องตัวนี้ ล้านเป็นต้น
    
ภาพขนาด 1600 x 1200 = 1,920,000 พิกเซล  หรือเป็นความละเอียดสูงสุดที่สุดที่กล้องดิจิตอล ล้านพิกเซลสามารถบันทึกได้    ความละเอียดของกล้องดิจิตอลที่ระบุไว้จะดูที่ความละเอียดสูงสุดที่กล้องสามารถบันทึกได้เท่านั้น   (นอกจากกล้องบางรุ่นที่ระบุความละเอียดโดยใช้หลักการของการประมวลผลและเพิ่มข้อมูลให้กับภาพ)

ระบบบันทึกภาพนิ่ง

ในกล้องดิจิตอลจะมีระบบการบันทึกภาพอัตโนมัติมาให้เป็นมาตรฐานเพื่อความสะดวกในการใช้งาน (เป็นภาพกล้องถ่ายรูป หรือตัว P)  กล้องรุ่นที่รองรับนักถ่ายภาพสมัครเล่นหรือกึ่งโปรจะมีระบบบันทึกภาพแบบอื่นให้เลือกใช้นอกจากระบบบันทึกแบบอัตโนมัติเพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์งานภาพตามความต้องการ   การมีระบบการบันทึกภาพที่หลากหลายมากขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้ใช้กล้องสามารถบันทึกภาพและสร้าง effect ต่างๆ ให้กับภาพถ่ายได้มากขึ้น  ระบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่คือ
P (Programmed Auto Exposure) -  ระบบโปรแกรมบันทึกภาพอัตโนมัติ
A (Aperture Priority Auto Exposure) -  ระบบโปรแกรมบันทึกภาพแบบเลือกค่ารูรับแสง  (กล้องแคนนอนจะใช้ AV)
S (Shutter Priority Auto Exposure) -  ระบบโปรแกรมบันทึกภาพแบบเลือกค่าความไวชัตเตอร์  (กล้องแคนนอนจะใช้ TV)
ระบบบันทึกภาพเคลื่อนไหว - Movie Clip, Video Clip

        จุดเด่นอีกประการหนึ่งของกล้องดิจิตอลนอกเหนือจากการมองเห็นภาพทันทีจากจอแอลซีดี  คือคุณสมบัติการบันทึกภาพเคลื่อนไหว (Movie Clip)   ภาพเคลื่อนไหวที่ได้จากกล้องดิจิตอลในปัจจุบันมีคุณภาพที่ดีมาก  แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ไม่สามารถนำไปเทียบกับกล้องถ่ายวีดีโอซึ่งรองรับงานด้านวีดีโอโดยตรง    แม้ว่ากล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีฟังชั่นการบันทึกภาพเคลื่อนไหวให้เลือกใช้ แต่ความแตกต่างในการใช้งานและผลที่ได้ค่อนข้างหลากหลาย  ส่วนเด่นๆ ที่สามารถแยกได้คือ 
ขนาดของภาพเคลื่อนไหวที่สามารถบันทึกได้  (Movie Size)
ความสามารถในการบันทึกภาพพร้อมเสียง (Movie with / without sound)
คุณภาพของภาพที่บันทึกได้ (อัตรา frame rate ต่อวินาที)
-  ระยะเวลาที่สามารถบันทึกได้ต่อหนึ่ง clip (Recording per clip)


         

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเภทกล้อง Digital


              ในปัจจุบัน กล้อง ดิจิตอล มีหลากหลายประเภท แต่ถ้า เราจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ จะมี2ประเภท คือ
              1.กล้องคอมแพก(Compact Digital camera)
                   คือ กล้องดิจิตอลที่มีตัวเลนส์อยู่ติดกับตัวกล้อง ไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ รูปทรงของกล้องคอมแพคมีจุดเด่นที่ขนาดเล็ก พกพาสะดวก สามารถใช้ง่ายได้ เป็นที่นิยมสำหรับทุกเพศทุกวัย การใช้งานเน้นความเป็นอัตโนมัติ กดเปิดปุ๊บ กดชัตเตอร์ได้รวดเร็ว โดยไม่ตรงปรับค่าต่างๆ


              2.กล้อง DSLR (Digital Single Len Reflect)
                   เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิตอล มีลักษณะเหมือนกล้องที่ใช้ฟิล์ม เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม มักนำตัวกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบ 35mm. SLR มาดัดแปลงให้เป็นกล้องดิจิตอล โดยเปลี่ยนฝาหลัง และแทนที่ฟิล์มด้วยเซ็นเซอร์รับภาพ ชนิดของเซ็นเซอร์รับภาพอยู่ 3 ชนิด คือ CCD (Charge Coupled Device) ให้แสงที่ดี และ อ่อนไหวต่อสี ถูกใช้อย่างแพร่หลายกว่าชนิดอื่นๆ แต่ข้อเสียของ เซ็นเซอร์รับภาพชนิดนี้คือการบริโภคพลังงานที่ค่อนข้างสูง และมีคอนโทรลเลอร์แปลงสัญญาณที่ซับซ้อน CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)มีความสามารถในการตกแต่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และ MOS (Metal Oxide Semiconductor) มีคุณสมบัติไกล้เคียง CMOS แต่ไม่มีคุณสมบัติของการประหยัดพลังงาน  นอกจากนี้คุณสมบัติ DSLR digital single-lens reflex ที่เหนือกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็ค คุณภาพของกล้องDSLR ความคมของภาพที่เห็นได้ชัด และ noise ที่น้อยกว่าเมื่อถ่ายในที่มืด สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ปรับซูมจากการหมุนเลนส์ สามารถถ่ายภาพในตอนกลางคืนได้ดี ควบคุมการถ่ายภาพด้วยมือได้ (Manual)
รุ่นแนะนำ ผู้ใช้จำเป็นต้องมีพื้นฐานเรื่องการถ่ายภาพ เพื่อสร้างสรรค์การถ่ายภาพในรูปแบบที่แตกต่างได้ เหมาะสำหรับมืออาชีพ นำภาพไปใช้ในการทำงานในสื่อที่ต้องการภาพที่มีความละเอียดสูง ซึ่งปัจจุบันราคาของกล้องประเภทนี้ถูกลงกว่ายุคก่อนมาก เป็นเหตุให้มือใหม่เข้าสู่วงการการถ่ายภาพมากขึ้น