วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของเลนส์ (Lens)



เลนส์ (Lens) 
     
          โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งช่วงของเลนส์เป็น 3 ช่วงคือ มุมกว้าง(Wide angle) , มาตรฐาน(Normal) และ ถ่ายไกล(Telephoto) 
          โดยจะแบ่งจากทางยาวโฟกัสเทียบกับเส้นทะแยงมุมของ Image Sensor โดย ถ้าทางยาวโฟกัสมากกว่ามากกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto lens) 
ถ้าทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ระยะมาตรฐาน(Normal lens) 
แต่ถ้ายาวโฟกัสมากกว่าน้อยกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์มุมกว้าง(Wide angle lens) 

    ซึ่งจากขนาดฟิล์มที่ 24*36 มม. ก็จะได้เส้นทะแยงมุมเท่ากับ 43 มม. แต่จำยาก เขาเลยกำหนดซะ ที่ 50 มม. ให้ถือว่าเป็นเลนส์ช่วงมาตรฐาน จะได้จำกันง่ายๆ ซึ่งก็จะทำให้กำหนดได้คร่าวๆ ว่า
ตั้งแต่ราวๆ 40 มม. ลงไป จะถือเป็นช่วง มุมกว้าง (Wide) เช่น 35mm , 20mm , 8mm
ช่วง 40 - 60 มม. ก็จะถือเป็นช่วง มาตรฐาน(Normal) เช่น 40mm 50mm 60mm
และที่มากกว่า 60 มม. ก็จะเป็นช่วง ถ่ายไกล(TelePhoto) เช่น 85mm , 100mm , 300mm , 600mm



Normal Lens คือเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมาตรฐาน ทางยาวโฟกัสของเลนส์มาตรฐานนี้คือ 50 มม. เลนส์ยอดนิยมของประเภทนี้พวกLens 50mm. f1.8 เอาไว้สำหรับถ่ายภาพบุคคล แบบชัดตื้น (หน้าชัดหลังเบลอ ที่ถ่ายคนแล้วฉากหลังละลาย)


Wide Angle Lensคือเลนส์มุมกว้าง เป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่า 50 มม เช่น 10 mm., 28 mm. เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์


FisheyesLens เป็นเลนส์ชนิดพิเศษที่มีมุมมองกว้างรับภาพ 180 องศา ภาพที่ได้ออกมานั้นส่วนขอบภาพจะโค้งๆ ตรงกลางภาพก็ได้มุมมองแปลกตาและสวยงามไปอีกแบบ



Tele photo Lens คือเลนส์ถ่ายไกล หมายถึงการถ่ายวัตถุที่อยู่ไกลๆ ให้เหมือนกับเราเข้าไปถ่ายใกล้ๆ เช่นการถ่ายภาพสัตว์ระยะไกลต่างๆ หรือนกที่เกาะอยู่บนต้นไม้ เป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากกว่า 50 มม เช่น 85 mm., 100 mm.



Macro lenses คือเลนส์ที่มีความสามารถที่จะนำเลนส์เข้าไปถ่ายระยะใกล้ๆ วัตถุได้มากกว่าปกติ เช่น การถ่ายภาพแมลง


Zoomlens คือเลนส์ที่สามารถปรับเปลี่ยนความยาวโฟกัสหลายขนาด เพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้ในทุกสถานการณ์ เช่น Lens kit ที่เป็น 18-55mm. ก็ถือว่าเป็นเลนส์ซูมเช่นกันค่ะแต่เป็น Normal Zoom



วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มือใหม่ควรรู้ก่อนซื้อกล้อง DSLR


เมื่อพูดถึง กล้อง DSLR นั้นได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพที่ดีกว่า กล้อง Compact (กล้องถ่ายรูปทั่ว ๆ ไป) ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ กล้อง DSLR ประเภทนี้จะเป็นที่ใฝ่ฝันของใครหลาย ๆ คน ซึ่งในปัจจุบันนี้ราคาของกล้อง DSLR ลดลงจากเดิมค่อนข้างมากทำให้สามารถซื้อหาได้ง่ายกว่าเดิม แต่สำหรับมือใหม่หัดเล่นกล้องนั้น อาจจะเกิดความไม่แน่ใจอยู่บ้างว่า เอ๊ะ … ก่อนจะซื้อนั้นเราต้องพิจารณาอะไรบ้าง ดังนั้นเราเลยมีเทคนิคดี ๆ ในการเลือกซื้อกล้อง DSLR มาฝากกัน
ตั้งงบประมาณ ถือเป็นส่วนสำคัญไม่น้อย เพราะกล้อง DSLR นั้นมีราคาตั้งแต่หมื่นกว่า ๆ ไปจนถึงหลักแสน การตั้งงบประมาณเอาไว้นอกจากจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกได้ง่ายแล้ว ยังทำให้คุณไม่ลำบากในค่าใช้จ่ายด้วยค่ะ
เลือกกล้อง DSLR ที่เหมาะกับเรา ปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตกล้อง DSLR หลายยี่ห้อซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนเลือกซื้อคุณควรจะเลือกกล้อง DSLR ยี่ห้อที่เหมาะสมกับตัวเอง เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเรามากที่สุด ในกรณีที่มียี่ห้อที่ถูกใจมากกว่าหนึ่งยี่ห้อ ให้คุณทดลองถ่ายภาพ เพื่อทดสอบดูว่ากล้องจากยี่ห้อไหนที่ทำให้คุณประทับใจมากกว่ากัน

เลือกชุด Kit หรือ Body ให้เหมาะกับการใช้งาน ชุด Kitนั้นก็คืออุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับตัวกล้องไม่ว่าจะเป็น ตัวกล้องเลนส์ เมมโมรี่การ์ด ส่วน Body นั้นหมายถึงแค่ตัวกล้อง ไม่มีเลนส์มาให้ สำหรับมือใหม่หัดถ่ายชุด Kit ก็ถือว่าโอเคแล้ว แต่สำหรับ Body นั้นคุณจำเป็นต้องมีเลนส์ที่ต้องการอยู่ในใจอยู่แล้ว และแน่นอนว่าเจ้าตัวเลนส์นี้ก็มีราคาแพงกว่าชุด Kit ดังนั้นคุณต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนพอสมควร ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะต้องเสียเงินมากมายไปกับการซื้อเลนส์ที่อาจจะไม่ตรงกับการใช้งานได้
เช็คสินค้าให้ละเอียดก่อนจ่ายเงิน ในจุดนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะแม้ว่าราคากล้อง DSLR จะลดลงแล้วแต่ก็ยังถือว่าเป็นจำนวนเงินไม่น้อยเหมือนกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจจ่ายเงินเราต้องเช็คสินค้าให้ดี ๆ ก่อนโดย
  • เช็คใบรับประกันว่าตัวเลขตรงกับเลขเครื่องของกล้องหรือไม่
  • เช็คสภาพตัวกล้องภายนอกทั้งหมดว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ มีรอยขีดข่วนหรือเปล่า ถ้าร้านไหนไม่ให้ดูกล้องก่อนซื้อ หรือถ้าดูกล้องแล้วต้องซื้อทันทีให้เปลี่ยนร้านได้เลย
  • เช็คระบบของกล้องว่า ทำงานถูกต้องหรือไม่ไม่ว่าจะเป็น Back/Front Focus, Hot Pixels/Dead Pixels ถ้าร้านไหนไม่เช็คให้ก็สมควรเปลี่ยนร้าน

ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกประกันศูนย์ เพราะเรตราคาของกล้องที่ประกันศูนย์กับประกันร้านนั้นแตกต่างกันไม่มาก เพราะฉะนั้นประกันศูนย์น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะหากกล้องมีปัญหา เราก็จะมั่นใจได้ว่าได้
ว่ารับการซ่อมแซมจากช่างที่ชำนาญมาตรฐานกล้อง DSLR ยี่ห้อนั้นจริง ๆ

ขอขอบคุณบทความจาก : 88DB LifeStyle

กล้อง DSLR มีกี่ประเภท ?


กล้อง DSLR แบบตัวคูณ

กล้อง DSLR แบบตัวคูณเป็นกล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35mm ซึ่งมีผลทำให้ภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพที่ปรากฏบนกล้องฟิล์ม 35mm  เป็นหลักการที่บอกว่า ภาพที่ได้จะถูกซูมให้ใกล้ขึ้นนั่นเอง ความหมายเพิ่มเติมคือที่เรียกว่ากล้องแบบตัวคูณ คือ เป็นการเอาค่าความยาวโฟกัสของเลนส์ คูณ ด้วยค่าตัวคูณ (Focus Length Multiplier) จึงจะได้ ค่าความยาวโฟกัส

ผลที่ขนาดของเซ็นเซอร์เล็ก ทำให้กล้องตัวคูณมีราคาไม่แพงมากนัก และทำให้พื้นที่ความชัดจะมองได้ยากขึ้น แต่มีจุดเด่นคือ
  • เพิ่มระยะซูมได้มากขึ้น
  • ถ่ายภาพ Macro จะได้ภาพที่คมชัดได้ง่าย

กล้อง DSLR แบบตัวฟูลเฟรม

กล้อง DSLR แบบฟูลเฟรม (Full Frame) เป็นกล้องที่เรียกได้ว่า เป็นกล้องสำหรับมืออาชีพโดยเฉพาะ มีขนาดของ CCD เท่ากันฟิล์ม ซึ่งทำให้สามารถใช้เลนส์แบบเก่าที่เคยใช้กับกล้องแบบฟิล์มได้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะใช้เลนส์แบบไหน ก็ไม่จำเป็นต้องมีตัวคูณให้ยุ่งยาก
ทิปเพิ่มเติม
เลนส์ที่ใช้กับกล้อง DSLR แบบตัวคูณ ไม่สามารถใช้งานร่วมกับกล้องแบบฟูลเฟรม (Full Frame) ได้ครับ เพราะภาพที่ได้จะไม่เต็มเซ็นเซอร์นั่นเอง ดังนั้นการเลือกซื้อเลนส์ ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่า กล้อง DSLR ของเราเป็นแบบไหน